วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 4 โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์(C)

ภาษา C
ภาษาc

''สวัสดีค่ะวันนี้เราจะมาพูดเกี่ยวกับภาษา C กันหลายคนคงยังไม่รู้ว่าภาษาซีคืออะไรเอาไว้ใช้ทำอะไรวันนี้เราจะมาพูดเกี่ยวกับกับภาษาCกันค่ะ''

ก่อนอื่นเรามารู้หมายหมายของภาษาCกันดีกว่า......

    ภาษาซี (C Programming Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมทั่วไป ถูกพัฒนาครั้งแรกเพื่อใช้เป็นภาษาสำหรับพัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ( Unix Opearating System) แทนภาษาแอสเซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สามารถกระทำในระบบฮาร์ดแวร์ได้ด้วยความรวดเร็วแต่จุดอ่อนของภาษาแอซเซมบลีก็คือความยุ่งยากในการโปรแกรม ความเป็นเฉพาะตัว และความแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง เดนนิส ริตชี (Dennis Ritchie) จึงได้คิดค้นพัฒนาภาษาใหม่นี้ขึ้นมาเมื่อประมาณต้นปี ค.ศ. 1970 โดยการรวบรวมเอาจุดเด่นของแต่ละภาษาระดับสูงผนวกเข้ากับภาษาระดับต่ำ

http://www.manager.co.th/asp-bin/ShowImage.aspx?ID=2047767&Width=350&Height=405

รูปข้างบนคือผู้คิดค้นภาษาซี เรามาทำความรู้จักบุคคลนี้กันเลยยยยยยยยยยย
 เดนนิส ริตชี่ (Dennis Ritchie) ผู้สร้างโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ "ภาษาซี (C programming language)"
เดนนิส ริตซี่หรือDennis Macalistair Ritchie เกิดที่เมือง Bronxville มลรัฐนิวยอร์กเมื่อวันที่ 9 กันยายน 1941จากนั้นจึงย้ายไปเมืองนิวเจอร์ซีย์ตามคุณพ่อที่ทำงานเป็นวิศวกรระบบสวิตชิงให้กับบริษัทBell Laboratories หนุ่มน้อยริตชี่เรียนดีจนสามารถเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) และสำเร็จปริญญาด้านฟิซิกส์ในปี 1963
      
       ที่ฮาร์วาร์ดนี้เองซึ่งทำให้ริตชี่มีความสนใจในคอมพิวเตอร์การเข้าร่วมฟังบรรยายสอนเกี่ยวกับเครื่อง Univac 1 จุดประกายริตชี่อย่างจังและเป็นแรงบันดาลใจให้ริตชี่สมัครเข้าเรียนที่สถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology) ในเวลาต่อมา
      
   MITได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งแรกๆของโลกในการพัฒนาคอมพิวเตอร์เมนเฟรมให้เป็น คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและมีราคาประหยัดกว่าโดยในปี1967บริษัทBellLabsก็สามารถพัฒนาทรานซิสเตอร์(transistor)ซึ่งเป็นเบื้องหลังสำคัญของการผลิตชิปคอมพิวเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคลในช่วงตลอดเวลาที่ผ่านมาทั้งหมดนี้ทำให้ริตชี่เข้าร่วมโครงการสร้างระบบปฏิบัติการแนวคิดใหม่ Multics ของ Bell Labs พร้อมกับเคนเน็ธ ทอมป์สัน (Kenneth Thompson) ซึ่งกลายเป็นผู้ร่วมสร้างระบบปฏิบัติการ Unix ในเวลาต่อมา
      
       บทบาทสำคัญของริตชี่คือการสร้างโปรแกรมภาษาซี ซึ่งสามารถทำให้ฮาร์ดแวร์สามารถสื่อสารกันได้ง่ายและเร็วขึ้นกว่าโปรแกรม ภาษาอื่นในอดีต โดยภาษาซีทำให้นักพัฒนาสามารถเรียนรู้ระบบปฏิบัติการเดียว, เครื่องมือตัวเดียว และภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมภาษาเดียวแต่สามารถจัดการฮาร์ดแวร์ข้ามระบบได้ แนวคิดเหล่านี้กลายเป็นรากฐานของการเขียนโปรแกรมในยุคปัจจุบันในที่สุด

 
 http://devcbytonfern.blogspot.com/

 หลายคนคงรู้ประวัติและความหมายของภาษาซีกันคร่าวๆแล้วต่อไปเรามารู้จักถึงประเภทของข้อมูลและตัวดำเนินการในภาษา c กัน

ประเภทของข้อมูล
จะเป็นการกำหนดให้ตัวแปรที่เราสร้างขึ้นมาใช้งาน มีประเภทของข้อมูลต่างๆ ตามที่เราต้องการ โดยสามารถแยกประเภทของข้อมูลต่างๆ ได้ตามตาราง

http://www.comnetsite.com/images/c-programming-tip18_1.gif
 
ตัวดำเนินการในภาษา C

เครื่องหมายดำเนินการในภาษา C แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ใหญ่ๆ คือ

1. เครื่องหมายคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operators) 

 

 2. เครื่องหมายเปรียบเทียบ (Relational and Logical Operators)

 


3. เครื่องหมายตรรก (Logical Operators)

เครื่องหมาย && (AND)

เครื่องหมาย || (OR)
3. เครื่องหมาย ! (NOT)


ลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการ
     เป็นการเรียงลำดับการดำเนินการทางเครื่องหมายของภาษา C ว่าจะให้ความสำคัญกับเครื่องหมายใดก่อนหรือหลังในการดำเนินการทางคณิศาสตร์ โดยจะเรียงลำดับความสำคัญจากตารางต่อไปนี้


เราลองมาดูตัวอย่างกันซักหน่อย


อธิบายโปรแกรม
จากตัวอย่างจะเห็นว่ามีการประกาศตัวแปร คือ x เป็นตัวแปรชนิดจำนวนเต็ม y และ z เป็นตัวแปรแบบทศนิยม x++ หมายถึง การนำค่า x มาบวกเพิ่มไปอีก 1 ส่วน z = (x+y)*2/3+1; เป็นการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ซึ่งค่าที่ได้จะนำไปเก็บไว้ที่ตัวแปร z จากประโยค (x+y)*2/3+1 นี้ เราสามารถคำนวณโดยใช้วิธีลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการได้ดังนี้
วงเล็บสำคัญสุด
( x+y) = 3+3.5 = 6.5 ----------> 6.5*2/3+1
เครื่องหมายคูณสำคัญสุด
6.5*2 = 13 ----------> 13/3+1
เครื่องหมายหารสำคัญสุด
13/3 = 4.333333 ----------> 4.333333+1
z = 5.333333
เครื่องหมายและตัวดำเนินการต่างๆ ที่กล่าวถึงในบทความนี้จะถูกนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมในครั้งต่อๆ ไป ให้ลองจดจำไว้เพื่อที่จะนำไปใช้งานได้อย่างคล่องตัวขึ้น ซึ่งเมื่อเราเขียนโปรแกรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตัวดำเนินการเหล่านี้จะมี ความสำคัญในการใช้งานมากขึ้นด้วย

ต่อไปเรามารู้ถึงข้อดีและข้อเสียของภาษาซีกันดีกว่าค้าาาา

ข้อดี

-เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่อาศัยหลักการที่เรียกว่า"โปรแกรมโครงสร้าง"จึงเป็นภาษาที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมระบบ
-เป็นคอมไพเลอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงให้รหัสออบเจ็กต์สั้นทำงานได้รวดเร็วเหมาะกับงานที่ต้องการความรวดเร็วเป็นสำคัญ
-มีความคล่องตัวคล้ายภาษาแอสแซมบลีภาษาซีสามารถเขียนแทนภาษาแอสแซมบลีได้ดีค้นหาที่ผิดหรือแก้โปรแกรมได้ง่ายภาษาซีจึงเป็นภาษาระดับสูงที่ทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ
-มีความคล่องตัวที่จะประยุกต์เข้ากับงานต่างๆได้เป็นอย่างดีการพัฒนาโปรแกรมเช่นเวิร์ดโพรเซสซิ่ง สเปรดชีต ดาตาเบส ฯลฯ มักใช้ภาษาซีเป็นภาษาสำหรับการพัฒนา
-เป็นภาษาที่มีอยู่บนเกือบทุกโปรแกรมจัดระบบงานมีในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตั้งแต่8บิตไปจนถึง32บิตเครื่องมินิคอมพิวเตอร์และเมนเฟรม
-เป็นภาษาที่รวมข้อดีเด่นในเรื่องการพัฒนาจนทำให้ป็นภาษาที่มีผู้สนใจมากมายที่จะเรียนรู้หลักการของภาษาและวิธีการเขียนโปรแกรมตลอดจนการพัฒนางานบนภาษานี้

ข้อเสีย
 - เป็นภาษาที่เรียนรู้ยาก
 - การตรวจสอบโปรแกรมทำได้ยาก
 - ไม่เหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการออกรายงานที่มีรูปแบบซับซ้อนมากๆ

จบแล้วขอบคุณข้อมูลดีๆและรูปภาพจาก
-https://sites.google.com/site/bbmm2553/prawati-khwam-pen-ma-khxng-phasa-si
-http://guru.sanook.com/6394/
-http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131021
-http://www.comnetsite.com/c-programming-tip18.php

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น